โรคเด็ก สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุโดยเป็นโรคที่พบได้ในกลุ่มเด็กแรกเกิดจนถึงเด็กโต แต่ในกลุ่มที่เป็น โรคเด็กที่น่าห่วงที่สุด คือ เด็กเล็กแรกเกิดจนถึง 5 ปี เพราะในช่วงวัยนี้เด็กจะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำมีความเสี่ยงจะการติดเชื้อและเป็นโรคได้ง่ายมากกว่ากลุ่มของเด็กโต การดูแลและรักษาโรคจิตจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจวินิจฉัยโรคและติดตามผลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง กุมารแพทย์ (หมอรักษาเด็ก) รวมไปถึง อุบัติเหตุในเด็ก ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจเพื่อลด ความเสี่ยงกับตัวเด็ก
โรคเด็ก คืออะไร
โรคเด็ก คือ สภาวะการเกิดโรค ซึ่งอาจเกิดจากได้หลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย สารเคมี สารก่อภูมิแพ้ อื่น ๆ รวมถึง สภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่พบในเด็ก สามารถเกิดได้ในเด็กแรกเกิดจนถึงเด็กโต ซึ่งกลุ่มโรคเด็กที่จะพบกันมากที่สุดก็จะประกอบด้วย
- กลุ่ม โรคในระบบทางเดินหายใจ
- กลุ่ม โรคภูมิแพ้
- กลุ่ม โรคผิวหนัง
- กลุ่ม โรคในระบบทางเดินอาหาร
- กลุ่ม โรคติดเชื้อจากไวรัส และแบคทีเรีย
- กลุ่ม โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
- กลุ่ม โรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในเด็ก
- กลุ่ม โรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง เอดส์
5 โรคเด็ก ที่พบบ่อยมาก
กรมควบคุมโรค เตือนเด็กวัยเรียนระวัง 5 โรคที่พบบ่อยในช่วงหน้าฝน
จากข้อมูลของกลุ่มควบคุมโรค ฉบับ 23/2565 มีการแจ้งเตือนว่า 5 โรคดังต่อไปนี้ถือว่าเป็นโรคติดต่อที่พบได้ในเด็กช่วงหน้าฝนสามารถแพร่กระจายติดเชื้อได้ง่ายมากในกลุ่มเด็ก คือ
- โรคมือเท้าปาก : เป็นโรคที่พบได้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากการติดเชื้อ Enterovirus มีอาการไข้ เจ็บคอปวด ศีรษะอ่อนเพลีย และ มีผื่นที่มือเท้าและปากโดยผื่นจะมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสขนาดเล็ก สามารถพบผื่นได้บริเวณฝ่าเท้าด้านในของปาก ลิ้น เพดานปากและริมฝีปากโดยปกติโรคนี้จะสามารถหายไปเองภายใน 7-10 วัน
- โรคไวรัส RSV : เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส RSV โดยทั่วไปแล้วจะได้พบโรคนี้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี อาการของโรคก็จะมีไข้ ไอ คัดจมูก หายใจลำบาก โดยทั่วไปโรคนี้สามารถหายได้เอง แต่ในกลุ่มเด็กเล็ก และเด็กที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือภูมิคุ้มกันบกพร่องอ่านจะมีความรุนแรงของโรคและมีความเสี่ยงในการเกิดสภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ
- โรคไข้หวัดใหญ่ : เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ พบได้บ่อยในฤดูฝนและฤดูหนาว อาการทั่วไปก็จะมีไข้สูง ไอเจ็บคอ มีน้ำมูกปวดศีรษะปวดกล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วันแต่อาจมีความรุนแรงในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กที่มีโรคประจำตัว
- โรคอุจจาระร่วง : เป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อที่พบได้ในเด็กสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียไวรัสหรือปรสิต ซึ่งมีการแพร่กระจายเข้าสู่ทางปาก อาการจะมีการถ่ายอุจจาระเหลวบ่อยครั้ง อุจจาระเป็นน้ำ มีอาการปวดท้องอาเจียนและอ่อนเพลีย ซึ่งสามารถถ่ายได้เองภายใน 3-5 วัน แต่อาจมีความรุนแรงในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กที่มีลูกประจำตัวเกี่ยวกับโรคขาดสารอาหารหรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- โรคไข้เลือดออก : เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส Dengue virus สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการกัดของยุงลายตัวเมียที่มีการติดเชื้อ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในประเทศไทย มีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการท้องเสียและเลือดออกใต้ผิวหนัง มีเลือดออกตามไร มีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งโรคไข้เลือดออกนี้มีความรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
อุบัติเหตุในเด็ก
อุบัติเหตุในเด็ก นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทั่วโลกเพราะเป็นวัยที่มีการอยากรู้อยากลอง ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดอุบัติเหตุแล้วยังมีความเสี่ยงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้รวมไปถึงการสูญเสียอวัยวะร่างกายหรือทรัพย์สิน แต่อย่างไรก็ตามเด็กเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา จากข้อมูลสถิติในประเทศไทยพบ อุบัติเหตุในเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 15 ปี พ.ศ 2555 (ที่มา ณัชนันท์ ชีวานนท์) มีสถิติเจ็บป่วยฉุกเฉินและประสบอุบัติเหตุทั้งหมด 87,456 คน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทอุบัติเหตุได้ดังนี้
- อุบัติเหตุจากรถยนต์ 24,439 คน
- อุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม 7,619 คน
- อุบัติเหตุถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก 444 คน
- จมน้ำและบาดเจ็บทางน้ำ 392
- อื่น ๆ
ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวก็จะพบว่าอุบัติเหตุจากการจราจรทางรถยนต์นั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในเด็ก ซึ่งตรงนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจและระมัดระวังมากที่สุดเพื่อที่จะได้ลดสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุของลูกหลาน
โดยสอดคล้องกับ บทความวิจัยของ วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ที่ทำวิจัยในเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากการประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ในเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่พบว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจร มากที่สุดเกิดจากรถจักรยานยนต์ โดยปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ การไม่สวมหมวกนิรภัย ดังนั้นในฐานะผู้ปกครองควรกระตุ้นบุตรหลานให้มีการสวมหมวกนิรภัยให้ได้มาตรฐานทุกครั้งที่มีการโดยสารจักรยานยนต์
หน้าที่ของกุมารแพทย์
กุมารแพทย์ คืออะไร ให้สรุปย่อ ๆ ก็คือ หมอรักษาเด็ก ซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชียวชาญในการรักษา โรคเด็ก และ อุบัติเหตุในเด็ก รวมทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำการป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ รวมถึงภัยคุกคามต่อเด็กในแง่ของสุขภาพทั้งหมด ให้การดูแลตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงเด็กโตซึ่ง กุมารแพทย์ ปัจจุบันถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อการดูแลรักษาสุขภาพพลานามัยของเด็กไทยเป็นอย่างมาก เพราะต้องมีความรับผิดชอบต่อ สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของเด็ก จำเป็นต้องมีความเข้าใจในพฤติกรรมของเด็กเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นประตูแรกในแง่ของระบบสาธารณสุข ที่จะทำให้เด็กไทยเติบโตไปเป็นวัยรุ่นหรือวัยทำงานที่นี่สุขภาพดีต่อไป
การเป็น หมอเด็ก นั้นมีความจำเป็นต้องเรียนแพทย์ทั่วไปเป็นระยะเวลา 6 ปี แล้วจึงเรียนด้านกุมารเวชศาสตร์ เพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทางอีกเป็นเวลา 3 ปี ดังนั้นกุมารแพทย์ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจและเชียววชาญในด้านการดูแลสุขภาพของเด็กในทุก ๆ ด้านซึ่งบทบาทหน้าที่ของหมอรักษาเด็กนั้นก็จะมีดังนี้
- ตรวจสุขภาพร่างกายของเด็ก
- การวินิจฉัยโรคเด็ก
- การรักษาโรคเด็ก
- การตรวจติดตามพัฒนาการในเด็ก
- ให้คำปรึกษาเรื่องโภชนาการสำหรับเด็ก
- แนะนำการฉีดวัคซีนในเด็ก
- แนะนำวิธีการดูแลรักษาสุขภาพให้กับพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็ก
- การดูแลรักษาสุขภาพในเด็ก
- ดูแลอาการเด็กที่มีสภาวะผิดปกติ
- ประสานงานกับทีมแพทย์ผู้เชียวชาญเฉพาะทางอื่น ๆ
ซึ่งเราก็จะเห็นว่า กุมารแพทย์ หรือ หมอเด็ก นั้นก็มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่ได้น้อยไปกว่าแพทย์เฉพาะทางสายอื่น ๆ เลย แต่จะเหนื่อยกว่าหน่อยในเรื่องของการรับมือกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน จะขึ้นชื่อว่ากลัวหมอกันอย่างมาก
ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพเด็ก
จากข้อมูลสถิติ ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เมื่อปี 2557 (ที่มา : ไทยรัฐ) เปิดเผยว่าปัญหาสำคัญที่ทำให้เด็กในวัยทารกนั้นมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด คือ การคลอดก่อนกำหนด และโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด ดูจากข้อมูลที่เปิดเผยพบตัวแรกที่น่าสนใจ คือ
- เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปีเสียชีวิตอัตราร้อยละ 50% ( * ในช่วงเดือนแรกของการคลอด)
- สาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต คือ
- การคลอดก่อน
- การติดเชื้อรุนแรง การขาดออกซิเจนหลังคลอด
- ปัญหาลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด
และท่านยังสามารถดูข้อมูลสถิติเพิ่มเติม ที่เกี่ยวกับอัตราการเกิดและการเสียชีวิตของเด็กแบบละเอียดได้จาก ระบบฐานข้อมูลอนามัยการเจริญพันธุ์ของไทย ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างละเอียดให้เราได้ศึกษา
ดังนั้นเราจะพบว่าตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ จนถึงการคลอดออกมาก็จะมีค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพเป็นจำนวนที่สูงมาก ซึ่งถือว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ทางผู้ปกครองคุณพ่อหรือคุณแม่ต้องรับผิดชอบในส่วนนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายนั้นก็จะมีการแบ่งออกเป็นได้หลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น
- ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์คลอดบุตร
- ค่าพบแพทย์ปรึกษาแพทย์ตามนัด
- ค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนตามที่กำหนด
- การตรวจสุขภาพประจำปี
- ค่าใช้จ่ายในการเข้าแลปเพื่อการวินิจฉัยโรค
- ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค ค่าห้องพักฟื้น ค่าอาหาร ค่าบริการทางการแพทย์อื่น ๆ
ซึ่งแน่นอนว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเลยทีเดียวหากลูกน้อยของเราเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาด้วยโรคเด็กเพิ่มขึ้นก็จะทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องของการรักษาพยาบาลที่สูงมากไปด้วย และที่สำคัญสุด คือ อัตราค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มสูงขึ้นประมาณ 7-8% ในทุกปี
ค่ารักษาโรคเด็ก !ประกันสุขภาพเด็ก ตอบโจทย์ ? ยังไง
ประกันสุขภาพเด็ก คือ แผนประกันสุขภาพที่ออกโดย บริษัทประกันภัย เพื่อคุ้มครองดูแลให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพเด็กทั้งหมด หรือเรียกว่า ประกันสุขภาพเด็กเหมาจ่าย ซึ่งจะให้ความคุ้มครองทั้งในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ค่าห้องพักฟื้น ค่าบริการทางการแพทย์อื่น ๆ อุบัติเหตุและโรคร้ายแรง แบบเหมาจ่ายโดยที่เราไม่ต้องกังวลเป็นภาระ เป็นการสร้างความอุ่นใจสำหรับหลักประกันทางสุขภาพให้กับลูกน้อยของเราเพราะเด็กเล็กเรื่องสุขภาพมองข้ามไม่ได้เลย หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แผนประกันเด็กเอาไว้เป็นข้อมูลเผื่อวันหนึ่งสนใจ ก็สามารถลองดูได้ที่ลิงค์นี้ >> ประกันสุขภาพเด็ก
ประกันเด็กเหมาจ่าย